ฟืม

           ฟืม เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องทอผ้า ทำด้วยไม้แข็งเนื้อละเอียด ทำเป็นกรอบ ๒ ชั้น ห่างกันประมาณ ๔ นิ้ว ความหนาของกรอบบนและล่างประมาณ ๑ นิ้ว กรอบบนกว้าง ๓ นิ้ว สำหรับใช้มือจับกระทบฟืม กรอบล่างหนาประมาณ ๑.๕ นิ้ว ด้านในทำเป็นร่องสำหรับรับฟันฟืม หัวท้ายเจาะรูทั้งอันบนอันล่าง เพื่อสอดตรึงให้กรอบอันบนอันล่างคงรูปตามต้องการ ฟันฟืมทำด้วยไม้ไผ่หรือคลุ้มที่แก่จัด เกลาเป็นรูปแบบ จำนวน ฟันฟืมมากน้อยตามขนาดของฟืม ใช้สอดหรือไม้ไผ่ขนาบฟันฟืมเรี้ยตะเข็บ เงื่อนที่ผูกเรียกว่า ผูกกระดูกงู เมื่อผูกฟันฟืมครบจำนวนแล้วสอดเข้าในร่องของกรอบบนล่าง หนีบกรอบบนล่างให้แน่นด้วยไม้กรอบหัวท้าย ฟืมมีหลายขนาด ฟืม ๒๘ ฟืม ๓๐ ใช้ทอผ้าห่มฟืม ๓๒ ฟืม ๓๔ ฟืม ๓๖ ใช้ทอผ้านุ่ง ฟืม ๓๖ จะได้ผ้าหน้ากว้างมากเหมาะกับการนุ่งผ้าโจงกระเบนของผู้ชายที่มีรูปร่างสูงใหญ่ ฟืม ๓๒ เหมาะสำหรับทอผ้านุ่งเลื้อยชาย แต่นิยมกันทั่วไปคือฟืม ๓๔ ดังเพลงร้องเรือบทหนึ่ง

           ทอโหกเหอทอฟืมสามสิบเส น้ำไหลใต้เก ทอลายโลกหวาย ผืนหนึ้งทอนุ่ง ผืนหนึ้งทอขาย ทอลายโลกหวาย ขายพี่ผึ้งมาใหม”(พ่วง บุษรารัตน์) 

ชื่อคำ : ฟืม
หมวดหมู่หลัก : ศิลปกรรม
หมวดหมู่ย่อย : กระบวนการผลิตงานช่าง และงานฝีมือ
ชื่อผู้แต่ง : พ่วง บุษรารัตน์
เล่มที่ : ๑๑
หน้าที่ : ๖๓๗๔